มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง และนั่นรวมถึงการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม แบบไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ต้องติดตาม
สาเหตุของการเกิดมะเร็ง มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างด้วยกัน นอกเหนือจาก “พันธุกรรม” ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุหนึ่งในสามของการเสียชีวิต จากมะเร็งทั้งหมด
มะเร็งบางชนิดมีการทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร เช่น มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส มะเร็งปอดสาเหตุสำคัญ คือ การสูบบุหรี่ แต่ยังมีมะเร็งอีกหลายชนิดที่เราไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ซึ่งอาการก็ถือว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งเหล่านั้นได้ เช่น มะเร็งลำไส้ เชื่อว่าการที่เรารับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งเหล่านั้นได้ เช่น มะเร็งลำไส้ เชื่อว่าการที่เรารับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้ การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อราอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับ แต่คนเป็นมะเร็งตับก็ไม่ได้เกิดจากอาหารอย่างเดียว การรับประทานอาหารที่ดี และได้รับสารอาหารครบถ้วนก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและดีขึ้น ผู้ป่วยมะเร็ง ก่อนผ่าตัดเราต้องดูแลภาวะโภชนกการให้เหมาะสม เพื่อที่หลังผ่าตัดระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลจะได้สั้นลง แผลหายได้เร็วขึ้น ต้องดูว่าก่อนหน้ามาโรงพยาบาลหกเดือนคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวหรือเปล่า ช่วงสองสัปดาห์ ที่ผ่านมาลักษณะการรับประทานได้เหมือนเดิม หรือรับประทานเพิ่มขึ้นหรือลดลง ปริมาณมากน้อยแค่ไหนในแต่ละมื้อ เนื้อสัตว์ที่รับประทานเป็นเนื้อสัตว์แบบไหน ประเมินอาหารในแต่ละส่วน ก่อนผ่าตัดมีการเจาะเลือดจะดูผลเลือดว่ามีส่วนไหนที่บกพร่อง มีน้ำตาลในเลือดสูง มีไขมันในเส้นเลือดแค่ไหน ถ้าการการผ่าตัดกรณีที่รอได้ เราก็จะปรับภาวะโภชนาการให้อยู่ในระดับที่ดีก่อนแนวทางการรับประทานอาหาร
ควรรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิแดนท์) ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และซิลิเนียม แหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ (ถั่วต่างๆ ลูกเดือย ข้าวกล้อง) ผัก-ผลไม้ ควรรับประทานทุกวัน ถ้ารับประทานได้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดีมากขึ้น สำหรับผลไม้ปริมาณที่เหมาะสมคือกันให้ได้ 2-3 ครั้ง/วัน ถ้าเป็นผลไม้ลูกกลมๆ เช่นแอปเปิ้ล ให้กินหนึ่งผลต่อหนึ่งมื้อ ถ้าเป็นผลไม้ลูกโตๆ เช่น สับปะรด แตงโมมือหนึ่งควรกินให้ได้ประมาณ 8 คำ หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่มีการเติมสสารถนอมอาหารต่างๆ เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อราปนเปื้อน นอกจากดูวันผลิตและวันหมดอายุซึ่งเป็นหลักสำคัญ รองลงไปคือสังเกตด้วยตาเปล่า ถ้ามีเชื้อราเพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรรับประทานแล้ว อาหารที่เลยกำหนดวันหมดอายุไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจมีเชื้อราที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเกิดขึ้นได้เช่นกัน หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดหวานจัด หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ให้ไขมันมากเกินไป อาหารที่มีไขมันสูง การได้รับไขมันปริมาณมากเกินไป คือเกิน 30-35% ของพลังงานที่เราได้รับทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เนื่องจากไขมันในสัตว์เนื้อแดงและสัตว์ปีกเมื่อเจอกับความร้อนจะเกิดสารออกซิเดชั่น เป็นสารแห่งความเสื่อมซึ่งจะทำให้เกิดโรคในกระบวนการความเสื่อมต่างๆ เช่น ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าอาหารปิ้ง-ย่างเป็นอันตรายจนกระทั่งกินไม่ได้ ยังสามารถกินได้ใน ปริมาณพอเหมาะ ที่สำคัญคือ ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นประจำ (หรือที่เรียกว่ากินซ้ำซาก) เพราะเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้จะเป็นการดีที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งอันเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน นอกจากเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยต่อการทำให้เกิดมะเร็ง คราวนี้ลองมาพิจารณาว่าจะกินอาหารอย่างไรเพื่อช่วยให้ห่างไกลจากมะเร็ง ซึ่งมีคำแนะนำเบื้องต้น ดังนี้
– เลือกกินอาหารที่มาจากพืชเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อควรมีผักและผลไม้ทุกครั้ง (อาหารที่มีกากใยสูง) ควรรับประทานผักให้มีความหลากสี (ไม่ควรรับประทานชนิดเดียวซ้ำๆ) เช่น ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท ข้าวโพดอ่อน ฟักทอง
– หากต้องการโปรตีน ลองหันมากินโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วและธัญพืช เลือกรับประทาน “อาหารว่าง” ที่ประกอบจากผักหรือผลไม้ ใคร ๆ ก็รู้ว่าป้องกันไว้ก่อนดีกว่ามาตามแก้ไขภายหลัง แต่คนเรามักชะล่าใจ ปล่อยตัวตามใจปากตามใจอยาก อย่างไรก็ตาม “มะเร็ง” นอกจากต้องระวังอาหารการกิน เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ยังมีเรื่องของ “สิ่งแวดล้อม” และ “ความเครียด” เข้ามาเป็นปัจจัยอีกด้วย