โรคเบาหวานเกิดจากการทานอาหารหวานมากเกินไปจริงหรือไม่ คนอ้วนทุกคนต้องเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ทุกท่านที่เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น คงเริ่มสงสัยแล้วว่า ตนอาจจะเป็นโรคเบาหวาน เพราะปัจจุบันเราจะพบว่า การบริโภคที่มากเกินความจำเป็นเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมาย ตั้งแต่หัวใจ เบาหวาน ความดัน โรคข้ออักเสบ เพราะน้ำหนักตัว มากเกินกว่าจะรับได้
กินอยู่อย่างไรกับโรคเบาหวานอย่างมีความสุข
🔴 โปรตีน
เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบัน ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับโปรตีนเท่ากับบุคคลทั่วไป คือ ประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของพลังงานที่ได้รับตลอดทั้งวัน และควรได้รับโปรตีนทั้งที่มาจากสัตว์และพืช เมื่อผู้ป่วยมีไตเสื่อมสภาพ ควรลดการรับประทานโปรตีนลง พบว่าการจำกัดโปรตีนลงเหลือ 0.6 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวันชะลอการเสื่อมของ GFR ได้บ้าง การควบคุมอาหารที่มีต่อโรคไตไม่พบประโยชน์ของ การจำกัดโปรตีนในอาหาร การศึกษานี้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด 2 อยู่ร้อยละ 3
แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีโรคไต รับประทานโปรตีนตาม RDA คือ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณร้อยละ 10 ของพลังงาน ที่ได้รับในหนึ่งวัน แต่เมื่อค่า GFR เริ่มลดลง ควรลดโปรตีนลงเป็น 0.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน สิ่งที่พึงระวัง คือปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดสารอาหาร และการรับประทานอาหารที่จำกัดโปรตีน ควรได้รับการดูแล ใกล้ชิดโดยนักโภชนาการที่มีความชำนาญ
🔴 ไขมัน
ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานไขมันร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมด พลังงานที่เหลือ อีกร้อยละ 80 ควรได้รับจากคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน สัดส่วนของไขมันและคาร์โบไฮเดรตขึ้นกับภาวะของตัวผู้ป่วย และเป้าหมายในการรักษา พลังงานที่ผู้ป่วยควรได้รับจากไขมันขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ระดับไขมันชนิดต่างๆ ในเลือดของผู้ป่วย เป้าหมายในการควบคุมน้ำตาลกลูโคส ไขมัน และน้ำหนักตัว ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวและระดับไขมันในเลือดปกติ บุคคลที่อายุมากกว่า 2 ปี ควรจำกัดไขมันในอาหารให้น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพลังงานรวมทั้งวัน และไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 10 ไขมันชนิด polyunsaturate น้อยกว่าร้อยละ 10 และไขมันชนิด monounsaturate ร้อยละ 10-15 หากผู้ป่วยมีปัญหาไขมันชนิด LDL-cholesterol ควรรับประทานไขมันชนิด saturate น้อยกว่าร้อยละ 7 และ cholesterol น้อยกว่าวันละ 200 มิลลิกรัม ทั้งนี้ยกเว้นไขมันชนิด polyunsaturate ในกลุ่ม omega 3 ซึ่งมีมากในปลาและอาหารทะเล ซึ่งรับประทานได้ตามปกติ ผู้ที่อ้วนและต้องลดน้ำหนักตัว ควรลดการรับประทานไขมันลง โดยอาจแนะนำให้ทานอาหารประเภทผักและผลไม้ และอาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยยับยั้งการเปลี่ยนแป้ง ข้าว น้ำตาล ไม่ให้กลายเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย เช่น สารสกัดจากผลส้มแขก
ผู้ที่มีปัญหา ไขมันชนิด triglyceride และ VLDL สูง ควรรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวชนิด monosaturated เพิ่มขึ้นปานกลาง เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 7 ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามมา แต่เมื่อใดที่ระดับไขมัน triglyceride ในเลือดสูงเกิน 1,000 มิลลิกรัม/ดล. จำเป็นต้องลดการบริโภคไขมันทุกชนิดลง ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 นอกเหนือจากการรับประทานยา เพื่อป้องกันโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดตับอ่อนอักเสบการรับประทานไขมันชนิดอิ่มตัวและ cholesterol ลดลง ช่วยลดโอกาสเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
🔴 เส้นใยอาหาร
เส้นใยอาหารช่วยรักษาและป้องกันท้องผูก และโรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยให้รู้สึกอิ่ม และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานควรได้รับเส้นใยอาหารเท่ากับคนธรรมดาคือ 20-35 กรัมต่อวัน เส้นใยอาหารบางชนิดสามารถลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากทางเดินอาหาร แต่ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่มีความสำคัญในทางคลีนิค สำหรับสารอาหารบางตัวที่ขาด ซึ่งมีข้อยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยขาด chromium เรื้อรัง เช่นผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยาง เป็นเวลานาน การเสริม chromium จึงเกิดประโยชน์