ข้าวก่ำ จากที่คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่บรรพบุรุษทำให้ในประเภทมีข้าวหลายสายพันธุ์ ทั้งที่ข้าวใหม่ๆ ที่นักวิชาการได้พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาและมีข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองอีกมากมาย ซึ่งหลายสายพันธุ์กำลังจะสูญพันธุ์ไปทั้งที่ข้าวพื้นเมืองมีคุณค่าทางโภชการการที่ควรจะอนุรักษ์อย่างข้าวเหนียวเมล็ดสีแดง หรือที่รู้จักในนาม “ข้าวก่ำ” ที่เคยปลูกมากในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.น่าน ก็เป็นข้าวพื้นเมืองโบราณอีกชนิด ที่คนสมัยก่อนนิยมนำไปทำขนมไทยจำพวกข้าวหลาม ขนมเทียน ซึ่งทีมคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า มีคุณประโยชน์เชิงโภชนสาศตร์ เกษตร คือ สารต้านอนุมูลอิสระอย่าง แดโทไซยานินและแกรมมาออริซาซานอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลที่ดีต่อสุขภาพเดิมคนโบราณเชื่อว่าเป็นข้าวเพื่อพิธีกรรม และการบำบัดรักษาเบื้องต้น ใช้เป็นยารักษาโรคที่น่าเชื่อถือ คือเรื่องการตกเลือดของหญิงคลอดลูก แก้ท้องร่วง ให้นำข้าวก่ำมาทำเป็นข้าวหลามรับประทานจะช่วยให้ทุเลาได้ ขณะที่ภาคใต้ใช้รักษาโรคผิวหนัง โดยเฉพาะโรคหิต จึงนิยมปลูกบริเวณเล็กๆ ซึ่งนอกจากความเชื่อในเรื่องสมุนไพรและคุณค่าทางอาหารของข้าวก่ำแล้ว สีของข้าวก่ำที่ออกแดงม่วงยังเป็นปรากฎการณ์ของธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เป็นการป้องกันโรคและแมลง โดยถือว่าข้าวก่ำเป็นพญาข้าวที่สามารถสังเคราะห์และปล่อยสารที่ช่วยป้องกันแมลงและโรคให้แก่ข้าวอื่นๆได้ ซึ่งจะเห็นได้จากการนิยมปลูกข้าวก่ำแทรกกับข้าวขาว เป็นต้น
คุณประโยชน์เชิงโภชนศาสตร์เกษตร คือ ข้าวก่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแอนโทรไซยานิน และแกรมมาออริซานอล ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีผลที่ดีต่อสุขภาพในการช่วยป้องกันโรคหัวใจลดคอเลสเตอรอลลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด