ในบทสาระสำคัญ ของบทความผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ผู้จัดทำจะนำเสนอนี้ เป็นลักษณะของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ที่มิได้มีการนำถั่วเหลืองมาสกัดเอาสารต่างๆ ที่มีอันตรายแก่ผู้บริโภค (เช่น น้ำเต้าหู้) ออกไป ดังนั้นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้องแล้วจึงไม่ต้องวิตก ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ผลิตอย่างถูกต้องจะมีสารอันตรายดังกล่าว ตามที่ผู้จัดทำวารสารจะนำเสนอดังต่อไปนี้

ผลิตภัณฑ์ของถั่วเหลือง มีผลอย่างไรต่อร่างกายของเรา

ข้อมูลของเรื่องถั่วเหลืองเป็นข้อมูลที่ผมได้มาจาก Dr. Lita Lee 8/12/2001 ท่านเป็น Ph.D ทางชีวเคมี แล้วผันตัวเองมาทำเรื่องธรรมชาติบำบัดท่านผู้นี้จัดได้ว่าเป็นผู้ให้แนวทาง เกี่ยวกับธรรมชาติบำบัดรุ่นแรกๆ ของผมเลยทีเดียว ผมเป็นหมอมา 20 ปี พออ่านบทความของท่านเรื่อง ?ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ? เวลาเดินไปไหนแทบจะเอาปีบคลุมหัวเลยละครับเพราะอะไรเหรอครับ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในบทความนั้น ตอบคำถามที่คาใจของเราเกือบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับโรคธัยรอยด์ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และเริ่มทำให้ศรัทธาในตำราแพทย์แผนปัจจุบันของผมตกลงอย่างมาก ผมหันมาอ่านศึกษา และลองปฏิบัติเรื่องของธรรมชาติบำบัดและแพทย์ทางเลือกมา 8 ปีทำให้ผมพอเข้าใจธรรมชาติบำบัดและสามารถนำมาให้คำแนะนำผู้ป่วยได้ผลดีพอสมควร ลดการใช้ยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์ได้อย่างมาก อ้าว!!! นอกเรื่องไปไกลเลย จะพูดเรื่องถั่วเหลืองต่อดีกว่า นอกจาก Dr. Lita Lee แล้วผมยังได้ข้อมูลจาก The Weston A. Price Foundation in Washington, DC USA (หมายเหตุ : ข้อความในวงเล็บข้างท้ายแต่ละข้อ คือ ชื่อของผู้ทำวิจัย และปีที่ทำวิจัย)

1. การกินโปรตีนถั่วเหลืองผง 30 cc. ทุกวันสามารถทำให้เกิดความผิดปกติที่เต้านมได้ จากฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจน(phyto estrogen)(Petrakis, NkL, 1996) แต่สำหรับ The Weston A. Price Foundation เขียนไว้แบบนี้เลยครับ Soy phytoestrogens disrupt endocrine function and have potential cause intertiity and to promote breast cancer in adult women แปลเป็นไทยก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในถั่วเหลือง ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และมีแนวโน้มที่จะทำให้เป็นหมัน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิง

2. ผลของโปรตีนถั่วเหลือง ในผู้หญิงก่อนวัยทองและวัยทอง พบว่าโปรตีนถั่วเหลือง
– ทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ
– ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวขึ้น
– ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสตราไดออลในเลือดเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าผลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (phyto estrogen) ที่มีในถั่วเหลืองนั้นมีผลต่อเต้านมของผู้หญิงจริงๆ (Petrakis, N.L, 1996)

3. ในสัตว์ที่ตั้งครรภ์ ถ้าให้เลี้ยงด้วยโปรตีนถั่วเหลือง อาจทำให้ลูกของสัตว์เหล่านั้นมีอวัยวะเพศที่ผิดปกติและอาจทำให้เกิด “กลุ่มอาการเอสโตรเจน” (estrogen syndrome) โดยเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคต่อไปนี้ เช่น โรคต่อมธัยรอยด์ โรคกระดูกผุ โรคถุงน้ำดี โรคมะเร็ง เป็นหมัน โรคหัวใจ

4. การใช้โปรตีนถั่วเหลืองผงเป็นอาหารในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนทำให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีภาวะเหมือนได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Baird, D.D., et al., 1995)

5. โปรตีนถั่วเหลืองมีสารต้านธัยรอยด์ฮอร์โมน คือ
– ไอโวฟลาโวน (Isoflavone)
– เจนิสทีน(Genistein)
– เดดซีน (Daidzein) (Divi.R.I., and D.R. Doerge, 1997)

6. โปรตีนถั่วเหลืองมีสารต้านธัยรอยด์ฮอร์โมน พบว่ามีภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ในเด็กทารกที่กินนมถั่วเหลือง (Walentine. Tom. 1997) มีการศึกษาการทำงานของต่อมธัยรอยด์ในคนที่กินถั่วเหลือง พบว่าต่อมธัยรอยด์ถูกกดการทำงานและมีคอพอกในหลายงานวิจัย(Ishizuki, Y., et al., 1991 : DM, R.I. and D.R. Doerge, 1997)

7. ถั่วเหลืองมีสารต้านน้ำย่อยโปรตีน ซึ่งยับยั้งการย่อยสลายโปรตีนจะทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายโปรตีนได้ (Fallon, S.W. and Mary G. Dnig 1995)

8. โปรตีนถั่วเหลืองมีสาร phytic acid สูงมากสารนี้ยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ โดยเฉพาะ สังกะสี แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก(Fallon, S.W. and Mary G. Dnig 1995)

9. ถั่วเหลืองมีสารที่ทำให้โปรตีนจับตัวกันเป็นก้อนที่เรียกว่า Hemagglutinin ทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับกันเป็นก้อน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดเสียไป (Fallon, S.W. and Mary G. Dnig 1995)

10. Processing of soy protein results in the formation of toxic lysinoalanine and highty carcinogenic nitrosamines แปลเป็นไทย กระบวนการผลิตโปรตีนถั่วเหลือง ทำให้เกิดสารพิษที่เรียกว่า “ไลซิโนอะลานีน” และสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า “ไนโตรซามีน” (The Weston A. Price Foundation in Washington,DC)

เป็นอย่างไรบ้างครับ ฟังอีกมุมหนึ่งของถั่วเหลือง คงจะสับสนพอสมควร จากประสบการณ์ของตัวผมเอง ผมพอจะกล่าวได้ว่า ปัญหาของถั่วเหลืองเท่าที่พบมาอยู่ที่ กินถั่วเหลืองเป็นประจำแล้วทำให้
1. เกิดเป็นภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism) อาการที่พบบ่อยๆของภาวะนี้คือ
– ปลายนิ้วมือมีอาการชา หรือเวลาตื่นนอนตอนเช้ากำมือไม่ค่อยได้ ซึ่งอาการแบบนี้ตามโรงพยาบาลทั่วๆไปจะวินิจฉัยว่า “พังผืดรัดข้อมือ (carpal tunnel syndrome)”
– เจ็บส้นเท้า (caicaneal spur) ที่เรียกทั่วๆไปว่า “รองซ้ำ”
– อ้วนง่าย กินนิดเดียวก็อ้วน
– อ่อนเพลียเรื้อรัง (chromic fatigue syndrome)
– ฯลฯ
2. ทำให้มะเร็งเต้านมดื้อต่อการรักษาแบบธรรมชาติบำบัด
3. ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เพราะเอสโตรเจน ไปกดการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย เทศโตสเตอโรจ แต่เอสโตรเจน จะทำให้ผู้ชายเหล่านี้ผิวพรรณเนียน สวย ดูดี แต่ขอโทษเรื่องของผู้ชาย “จอดสนิท”