บ้านเรามีอากาศร้อน… ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน และสิ่งที่ตามมากับฤดูร้อนก็คือความไม่ปลอดภัยของอาหารที่เราบริโภค เพราะความเน่าเสียง่ายของอาหาร ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน วันนี้เรามีวิธีการเลือกรับประทานมาฝากกันค่ะ

การเตรียมอาหารเช้าเพื่อลดความเสี่ยง ควรพิจารณาและระมัดระวัง ตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ ดังนี้

ข้าวกล้อง หรือผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องแทนข้าวขาว(ข้าวสาร) เนื่องจากข้าวกล้องผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียว เพื่อเอาเปลือก(แกลบ) ออกไปทำให้ข้าวที่เหลือยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว(รำ) อยู่ครบซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้ล้วนอุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวประเภทอื่นๆ เลือกซื้ออาหารที่สด สะอาด ไม่มีรอยแตกหรือรอยช้ำล้างทำความสะอาดอาหารด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง ปรุงอาหารโดยผ่านความร้อนในอุณหภูมิสูง และนานพอที่จะทำให้อาหารปลอดภัยเลือกใช้ภาชนะปรุงอาหารที่สะอาด โดยเฉพาะเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ ควรทำความสะอาดอยู่เสมอหลีกเลี่ยงการจับต้องอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารที่พร้อมจะรับประทานเตรียมอาหารให้เสร็จใกล้กับเวลาที่จะรับประทานมากที่สุดอาหารที่ต้องเก็บในตู้เย็น ควรนำเก็บในตู้เย็นเร็วที่สุดไม่ควรวางทิ้งไว้ควรเก็บรักษาอาหารให้พ้นช่วงอุณหภูมิอันตรายคือระหว่าง 5-60 องศาเซลเซียส จึงไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องไม่ควรเก็บอาหารสุกและอาหารดิบไว้ด้วยกัน เพราะเกิดการปนเปื้อนได้ง่ายไม่ควรนำอาหารออกจากตู้เย็นก่อนเตรียมอาหารเกิน 20 นาที

การเลือกรับประทานอาการเพื่อลดความเสี่ยง อาหารทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งอาการจะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค คือถ้าอาหารบูดเราสามารถรู้ได้และเสี่ยงที่จะรับประทานแต่อาหารบางอย่าง สี กลิ่ม รส ลักษณะยังไม่เปลี่ยน ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย เพราะจุลินทรีย์อยู่ในระดับที่ยังไม่ทำให้อาการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดแต่ก็มีปริมาณมากพอที่จะทำลายสุขภาพของเราได้ ดังนั้นเพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ เฉพาะในช่วงหน้าร้อนจะทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เรามีหลักในการเลือกรับประทานอาหารดังนี้

รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำไว้นาน เลือกรับประทานอาหารที่ผ่านความร้อน อย่างทั่วถึงเช่น อาหารประเภทแกง ต้มจืด ต้มยำ หลีกเลี่ยงอาหารที่สุกๆ ดิบๆ หรือผ่านความร้อนน้อย เช่น หอยแครงลวก หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ต้องผ่านการสัมผัส หลังจากการทำสุก เช่น ลาบ พล่า ยำ สลัด ควรทราบว่าอาหารประเภทใดบูดง่าย อาหารที่มีเครื่องเทศมากๆ รสเผ็ด ได้แก่ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด จะบูดเสียกว่าอาหารที่มีรสจืด โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์และกะทิ ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จมาวางทิ้งไว้นาน ถ้ายังไม่รับประทานควรเก็บไว้ในตู้เย็นควรอุ่นอาหารที่ซื้อสำเร็จก่อนรับประทานไม่ควรเก็บอาหารที่ซื้อสำเร็จที่เหลือจากการรับประทานไว้อีกเพราะจะทำให้บูดเสียง่ายถ้าต้องการเก็บไว้ ควรอุ่นอีกครั้งก่อนนำเข้าเก็บไว้ในตู้เย็น

ในการรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และควรดูแลเรื่องความสะอาดของอาหาร ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงอาหารสิ่งแวดล้อมและอย่าลืมดูแลเรื่องสุขอนามัยของตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ แล้วฤดูร้อนนี้คุณจะไม่มีปัญหาด้านสุขภาพมากวนใจอีกเลย