ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism)

 
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่ต่ำกว่าลูกกระเดือกลงไปเล็กน้อยเป็นต่อมที่สร้าง “ไทรอยด์ฮอร์โมน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ว่าจะเผาผลาญพลังงานมากน้อยแค่ไหนและเมื่อไหร่ เรื่องของพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด…แต่ก็ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยเปลี่ยนไขมันคอเลสเตอรอลไปเป็นฮอร์โมนที่ต้านความเสื่อมของร่างกาย (anti-aging homones) เช่น เพรกนีโนโลน (pregnenolone) โปรเจสเตอโรน (progesterone) อีเอสอีเอ (DHEA) เอสโตรเจน (estrogen) เทสโตสเตอโรน (testosterone) คอติโซน (cortisol) อัลคอสเตอโรน (alcosterone) ฮอร์โมนเหล่านี้โดยธรรมชาติมีหน้าที่ด้านความแก่และความเสื่อมของร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ อ้วน ข้อเสื่อม ฯลฯ  บางท่านอาจคิดว่า …ต้องหรือเปล่า?…เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เป็นมะเร็งโว๊….ย ไม่ต้องครับ เพราะเอสโตรเจนที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งน่ะ เป็นเอสโตรเจนจากภายนอกร่างกายที่ท่านรรับเข้าไป..จนเกินๆๆๆ…จนเป็นโทษต่อร่างกายครับ…ส่วนร่างกายมันสร้างของมันเองค่อยข้างปลอดภัยครับ…(เอ…แล้วประชาชนคนทั่วไปจะเชื่อใครดีล่ะ…กรรมจริงๆ) ท่านคงเห็นแล้วว่าไทรอยด์ฮอร์โมนมีหน้าที่หลายอย่างมากและเกี่ยวข้องกับ ฮอร์โมนสำคัญหลายตัว…ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนตัวนี้ต่ำหรือมีน้อยกว่าปกติ ย่อมทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกายได้หลากหลายอาการและกว้างมากทีเดียว…ดังอาการต่อไปนี้ 

อ่อนเพลียไม่มีแรง ง่วงซึม ขี้เกียจ ไม่ค่อยอยากทำอะไร ซึมเศร้า อ้วน ไขมันคอเลสเตอรอลสูง อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ วัดปรอทที่รักแร้หรือใต้ลิ้น ต่ำว่า 96 องศาฟาเรนไฮต์ในตอนเช้า หรือต่ำกว่า 96.6 องศาฟาเรนไฮต์ในตอนกลางวันหนาวง่าย มือเย็นเท้าเย็น มีลูกยาก ปวดข้อ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก เป็นหวัดบ่อย  โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ…โรคผิวหนังต่างๆ เช่น คัน เอ็กซีม่า สะเก็ดเงิน สิว ผิวแห้ง ผิวลอกเป็นขุยๆ ความจำไม่ดี ไม่สามารถจดจ่อทำอะไรได้นานๆ (concentration difficulties) หวาดระแวง (paranoid) ไมเกรน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนแรง การได้ยินผิดปกติ รู้สึกแสบๆ เจ็บๆ เหมือนถูกหนามตำ โลหิตจาง มีการตอบสนองช้า เปลือกตาบวม ท้องผูก หายใจไม่สะดวก (abored or difficul breathing) เสียงแหบ เล็บเปราะ สายตาไม่ดี 

อาการเหล่านี้อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่าคนๆ นั้นเป็นภาวะไทรอยด์ต่ำ โธ่เอ้ย…สงสัยว่าเป็นภาวะไทรอยด์ต่ำหรือเปล่าก็ไปเจาะเลือดก็รู้แล้ว…บางท่านอาจคิดเช่นนั้น…ใสเจียครับ…ก็เสียใจไงเล่า…จากหนังสสือ ของนายแพทย์ James ปี 1992 ชื่อ DR. BRALY’S FOOD ALLERGY & NUTRITION-REVOLUTION หน้า 392 เรื่อง hypothyroidism “diagnosis of hypothyroidism can be diffucul and many of standard blood tests are most likely unreliable. A better way to determine hypothyrcidism may be to take your base temperature for five days running, early in the morning before you get out of bed.” แปลเป็นไทย.. “การวินิจฉัยภาวะไทรอยด์ต่ำเป็นเรื่องค่อนข้างยาก การตรวจเลือดมาตรฐานทั่วๆไป…เชื่อถือไม่ค่อยได้ วิธีที่จะวินิจฉัยภาวะไทรอยด์ต่ำที่ดีกว่าก็คือ การวัดปรอทตอนเช้าก่อนที่จะลุกจากเตียงนอน 5 วันติดต่อกัน” 

อธิบายรายละเอียดเล็กน้อย เผื่อใครจะไปลองทำดู ซื้อปรอทวัดไข้ที่ร้านขายยา ก่อนจะเข้านอนให้สะบัดปรอทเพื่อให้ปรอทอยู่ต่ำว่า 95 องศาฟาเรนไฮต์ แล้ววางไว้หัวเตียง..เมื่อตื่นนอน อย่าเพิ่งลุกจากที่นอน…ให้หยิบปรอทมาหนีบไว้ให้รักแก้หรืออมใต้ลิ้นก็ได้ประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่าปรอทแล้วจดไว้ ทำอย่างนี้ติดต่อกัน 5 วัน แปลผลดังนี้ 

สำหรับผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน ถ้าวัดได้ เฉลี่ยต่ำกว่า 97.6 องศาฟาเรนไฮต์ ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นภาวะไทรอยด์ 

สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชาย ถ้าวัดได้ เฉลี่ยต่ำกว่า 97.4 องศาฟาเรนไฮต์ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นภาวะไทรอยด์ต่ำ 

ข้อควรระวัง สำหรับผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ ควรระวังอุณหภูมิร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวงรอบประจำเดือน แนะนำให้เริ่มการวัดปรอทในวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน จะได้คำที่ถูกต้อง… 

ยังไงก็ต้องพูดเรื่องนี้ ปกติถ้าเป็น ภาวะไทรอยด์ต่ำอย่างชัดเจน คงไม่เป็นปัญหาในการวินิจฉัย คนไข้จะมาด้วย…ตัวอ้วนและบวมมาก พูดช้า ตอบสนองช้า ความจำไม่ดีอย่างมาก เคลื่อนไว้ช้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หนาวง่ายอย่างเห็นได้ชัด อย่างนี้แทบจะไม่ต้องวัดปรอทหรือเจาะเลือดเลยครับ อันนี้เค้าเรียกว่าเป็นเต็มที่ แต่ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้…เป็น “ภาวะไทรอยด์ต่ำแบบไม่ชัดเจน” หรือบางท่านอาจะเรียกว่าเป็น “ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “subclinical hypothyroidism” จากการประเมินของ ดร.ลิต้า ลี “ภาวะไทรอยด์ต่ำ” น่าจะเป็นปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จนเธอเปรียบเทียบว่า เป็น “โรคระบาดสมัยใหม่” (modem epidiemic) เลยทีเดียว…มาเข้าสู่หัวข้อที่มีความสำคัญมากหัวข้อหนึ่งก็คือ “สาเหตุของภาวะไทรอยด์ต่ำ”

สาเหตุอันดับ 1. ตามรายงานของ ดร. ลิต้า ลี ก็คือ “radiation” …”คลื่นรังสี” ครับ มาจากอะไรเหรอครับ ที่มากที่สุดก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดนั่นแหล่ะครับ…ไล่ไปตั้งแต่…โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ สายไฟฟ้าแรงสูง ที่อยู่ใกล้บ้าน และที่ทำงาน ตู้เย็น รวมไปถึงไมโครเวฟ (อันนี้ได้ 2 เด้งเลย เสี่ยงภาวะไทรอยด์ต่ำและมะเร็ง..ไม่ได้ง้อให้เชื่อ..ไม่เชื่อก็ควรเก็บไว้พิจารณาไปก่อน) อย่าลืมนะครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้แผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาครับ บางคนอาจคิดแล้วจะเลี่ยงยังไง..ก็นั่งให้ร่างๆโทรทัศน์หน่อย เลือกซื้อบ้านไม่ให้ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เอาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในห้องนอนน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้…ฯลฯ

สาเหตุอื่นๆ เช่น กินผลิตภัณฑ์ของถั่วเหลืองมากเกินไป เนื่องจากในถั่วเหลืองมีสารต้านไทรอยด์ จากประสบการณ์ของผม ประเด็นนี้เจอเยอะมากสำหรับคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ทานมังสวิรัติ เพราะกินมาเยอะแถมยังกินมานานมากด้วย 

การกินหวานทั้ง 5 มากเกิน จะให้ต่อมไทรอยด์ ต้องทำงานหนักมาก จนในที่สุด เลยทำงานได้น้อยลง เรื่องอันตรายของความหวาน ผมคงไม่ต้องขยายความมากมายอีก ใครที่ได้อ่านหนังสือเล่มแรกของผมคงได้รับทราบมากพอแล้ว 

ในร่างกายมีเอสโตรเจนมากเกินไป เอสโตรเจนที่มากเกินไปนี้ จะต้านการทำงานของไทรอยด์ เอสโตรเจนเหล่านี้มาจากไหนยาคุมฮอร์โมนวัยทอง และที่สำคัญที่เค้าเรียกว่า “environmental estrogen” เป็นของที่มาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ไม่ใช่เอสโตรเจนแต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วออกฤทธิ์ต่อร่างกายเหมือนเอสโตรเจน เช่น ยาปราบศัตรูพืชทั้งหลาย น้ำยาฟอกสี ขัดเบาะ ฯลฯ (รวมทั้งเอสโตรเจน และฮอร์โมนอื่นๆที่ปนมากับเนื้อสัตว์ นมวัว นมแพะ ไข่) 

การกินไขมันมากเกินไป โดยตรงไขมันจะต้านการทำงานของไทรอยด์ 

แร่ธาตุไอโอดีน การได้รับไอโอดีนมากเกินไปอาจทำให้เกิดได้ทั้งภาวะไทรอยด์เป็นพิษและภาวะไทรอยด์ต่ำได้ทั้งคู่แล้ว แต่ว่าการตอบสนองของคนๆนั้นเป็นอย่างไร 

โลหะหนักบางชนิดก็สามารถต้านการทำงานของไทรอยด์ได้ เช่น ปรอ…เฮ่…แล้วใครจะซ่า…กินปรอทเข้าไปล่ะ ไม่เกี่ยวกับเรื่องซ่าหรือไม่ซ่า เกือบทุกคนมีปรอทอยู่แล้วในปากตัวเอง ก็ไอ้ที่อุดฟันที่เป็นโลหะสีเงินๆนั่นแหล่ะมีปรอทผสมอยู่ตั้งครึ่งนึ่ง ไม่ต้องตกใจไป ผมก็ยังมีไอ้นี่อยู่ในปากด้วยเหมือนกัน (ถือว่าโชคดีแล้ว ก็ยังดีกว่ามีสุนัขอยู่ในปากแล้วกัน) เราไม่ได้รู้ข้อมูลเหล่านี้ไว้สำหรับกลุ่มใจ เรารู้ไว้เพื่อที่จะระวังตัวต่างหาก ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเรามีปรอทอยู่ในปาก ถ้าไม่อยากเสี่ยงเพิ่มขึ้น ก็กินหวาน มัน น้อยลง เลี่ยงฮอร์โมนบ้าง เรามีข้อมูลไว้บริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงของตัวเอง ไม่ใช่เอาไว้กลุ้มเกินกว่าเหตุ อะไรเลี่ยงได้ก็เลี่ยง อะไรเลี่ยงไม่ได้ ก็ทำใจไปก่อน…

พืชบางชนิดมีสารต้านไทรอยด์ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บล๊อกเคอรี ผักเหล่านี้ไม่ควรกินสด เมื่อผ่านความร้อน เช่น ผัด ลวก นึ่ง ก็จะปลอดภัยสารต้านไทรอยด์จะถูกทำลายไป 

เอาแค่นี้ก็น่าจะพอแล้วที่เหลือเป็นประเด็นเล็กๆน้อยๆเดี๋ยวจะเครียดเกินไป หัวข้อต่อไปนี้อ่านไว้ประดับความรู้ ตัวเองไม่อนุญาติให้เอาไปเถียงกับคนอื่น โดยเฉพาะกับแพทย์และพยาบาล เพราะโดยรวมๆ เราก็ยังรู้น้อยกว่าเค้าและประสบการณ์เรื่องโรคภัยไข้เจ็บเราก็น้อยกว่าเค้าอยู่ดีครับ…ขนาดผมเอง เดี๋ยวนี้ยังไม่อยากเถียงกับใครเลย…เพราะผลที่ออกมามักไม่เป็นประโยชน์…ใครจะว่าเราหลงทางคิดผิด..ปล่อยมันคิดไปเถอะ เดี๋ยวอีกหน่อยก็รู้เอง..อาการและการตรวจพบบางอย่างของภาวะไทรอยด์ต่ำ 

ไขมันคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลสูงเพราะว่า ปกติไทรอย์ฮอร์โมนมีหน้าที่ในการนำเอาคอเลสเตอรอลในร่างกายไปเปลี่ยนให้เป็นน้ำดี และฮอร์โมนหลายตัวดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อไทรอยด์ต่ำ มันก็เลยไม่เปลี่ยน พอไม่เปลี่ยนไขมันก็เลยสูง 

ภาวะไทรอยด์ต่ำ ส่วนใหญ่จะมีชีพจรเต้นช้า (มักจะช้ากว่า 85 ครั้งต่อนาที) แต่บางรายเราพบว่าชีพจรเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีเป็นเพราะร่างกายปรับตัวเรื่องนี้ด้วยการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินออกมาทำงานแทนไทรอยด์ และถ้าร่างกายใช้วิธีนี้อยู่นานๆ ก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้จากการกระตุ้นเกินไปของแอดดรีนาลิน 

มือเย็นเท้าเย็น เป็นผลมาจากการบวมตามแขนขา และไหลเวียนของเลือดไม่ดี และประเด็นที่น่าสนใจอย่างมากก็เรื่องต่อไปนี้ครับ 

ถ้าการบวมไปเกิดที่ข้อมือ ก็จะทำให้ชาตามปลายนิ้วมือ และเวลาตื่นนอนตอนเช้ากำมือยาก ซึ่งอาการแบบนี้ตามโรงพยาบาลทั่วๆไปจะวินิจฉัยว่า “พังผืดรัดข้อมือ (carpal tunnel syndrome)” ขอเรียนให้ทราบว่าไม่ต้องไปกินยาหรือฉีดยาหรือผ่าตัดเสียให้ยากแก้ไขเรื่องไทรอยด์ ก็หายแล้ว วิธีพิสูจน์ง่ายๆก็คือ 1. วัดปรอท 2. กินพริกไทยดำแคปซูล 1 เม็ด 3 เวลา หลังอาหาร ถ้าประมาณ 7 วันดีขึ้น ก็แปลว่า ไทรอยด์ต่ำ…ชัวร์ วัดปรอทเพื่อดูอุณหภูมิว่าต่ำจริงหรือเปล่า  5 วัน ถ้าต่ำจริง ก็เริ่มพริกไทยดำ พริกไทยดำช่วยการเผาผลาญพลังงงานเหมือนไทรอยด์ มันเป็นเสมือนตัวช่วยพิสูจน์ให้เห็นว่า ขาดไทรอยด์จริง ถ้ามั่นใจแล้วว่าเป็นไทรอยด์ต่ำ ก็ค่อยไปรับการรักษาด้วยการกินยาฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งค่อนข้างปลอดภัย ไม่เหมือนฮอร์โมนวัยทองหรือยาดม สิ่งที่ควรรู้อย่างยิ่งการใช้พริกไทยแคปซูลเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ปกติเราจะใช้ 5-7 วันเพื่อเป็นการพิสูจน์เท่านั้น หลายคนอาจคิดว่า ก็บอกมาเด่..ว่าใช้นานกี่วันถึงเกิดโทษ แต่ละคนไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 1 เดือน ก็น่าจะเริ่มให้นอนไม่หลับแล้ว

ท้องผูก สาเหตุที่ท้องผูก ก็เพราะลำไส้เคลื่อนตัวช้า เนื่องจากฮอร์โมน ไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่ใช้ในการสร้างพลังงาน เมื่อพลังงานไม่พอลำไส้มันก็เลยเคลื่อนตัวช้า 

อาการซึมเศร้า และปัญหาเรื่องอารมณ์ เมื่อพลังงานตก การทำงานของสมองก็ผิดปกติไปได้ง่ายๆ เพราะสมอง ใช้พลังงานเกือบครึ่งหนึ่งของร่างกาย ทั้งหมดเมื่อเราตื่นอยู่ เมื่อพลังงานไม่ถึง อะไรก็เกิดขึ้นได้ 

นอนไม่หลับ เซลล์สมองต้องการการสะสมพลังงานที่เพียงพอก่อนที่จะพัก ถ้าพลังงานไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เซลล์สมองไม่สามารถพักได้ดี ซึ่งนั้นก็คือ ไม่สามารถหลับลึกๆได้ไงครับ… 

อ้วนง่าย ก็เผาผลาญพลังงานได้ไม่ดี อาหารที่กินเข้าไปไม่ได้ถูกใช้ เลยถูกเอาไปเก็บแทน ลงท้ายก็อ้วนขึ้นเรื่อยๆๆๆ….ผิวหนังและเส้นผม ต้องบอกกันก่อนว่าส่วนใหญ่ของปัญหาของผิวหนังและเส้นผม (แต่ไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ ส่วนใหญ่ครับ) เป็นผลมาจากเรื่องภาวะไทรอยด์ต่ำ เช่น ผิวหนังแห้ง สิว เอ็กซีม่า สะเก็ดเงิน ผมร่วง เป็นต้น 

ปวดหัว หลายคนต้องรีบแย้งเลยว่ามีสาเหตุเพียบที่ทำให้ปวดหัว แต่เราจะเน้นในหัวข้อนี้เฉพาะ ปวดหัวที่สัมพันธ์กับไทรอยด์มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 
– กลุ่มที่ 1 ปวดหัวจากเอสโตรเจน (estrogen headache) พบในผู้หญิงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง และเอสโตรเจนที่สูงนี้จะไปกดการทำงานของไทรอยด์ ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ต่ำ เหมือนที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งกลุ่มนี้มักจะมีอาการปวดหัวในช่วงที่มีประจำเดือน 
– กลุ่มที่ 2 ปวดหัวจากลำไส้ใหญ่ (coion headache) ปวดหัวที่เกิดจากท้องผูก แล้วอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้นานๆทำให้เกิดการเน่าเสียและหมักหมม ของเสียที่เกิดขึ้นจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ แต่ก็ไม่ใช่คนที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำทุกคนจะท้องผูก คนที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำบางคน ถ้ากินผลไม้เยอะๆ (กินน้ำตาลเข้าไปเยอะๆ) ก็อาจทำให้เกิดการขับถ่ายอุจจาระที่ปกติได้ แต่ในระยะยาวพวกนี้ก็จะเกิดโทษจากการที่กินผลไม้เยอะๆได้ ถ้าใครสงสัยว่า ?ปัญหาท้องผูกโลกแตก? แก้ไขอย่าไร แนะนำให้ไปที่ชมรมมังสวิรัติ แล้วสอบถามพวกที่กินมังสวิรัติจริงๆ ซักหลายสิบคนว่า พวกเค้ามีปัญหาท้องผูกกันบ้างไหม แล้วลองนั่งคิดดูซิว่า พวกมังสวิรัติเค้ากินอะไรไม่เหมือนเรา ก็ไอ้นั่นแหล่ะครับที่แก้ปัญหาท้องผูกแบบไม่เกิดโทษ น่าจะลองกินแบบเค้าบ้าง (ก็ผักเยอะ น้ำเยอะ ไง)

โรคลิ้นหัวใจรั่วที่เรียกว่า “mitral valve prolapes” พบบ่อยในคนที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำ 

ปวดข้อ (jcint pain or arthris)ภาวะไทรอยด์ต่ำก็ทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในเด็กมักเป็นปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ  

ปัญหาของผู้หญิงๆ เช่น มีบุตรยาก แท้งง่าย ซีสต์ที่เต้านม เนื้องอกรังไข่ ซีสต์ที่รังไข่  เอ็นโตแมททริโอซีส (endtometriosis) อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน อาการวัยทอง มักเกิดจากการที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปร่วมกับภาวะไทรอยด์ต่ำ ไม่ต้องกังวลครับเดี๋ยวจะมีอีกหนึ่งบทใหญ่ๆที่อธิบายเรื่องนี้โดยเฉพาะ 

เป็นไงบ้างครับ…เราๆท่านๆ ทั้งหลาย หายมึนหรือยัง ถ้ายังมึนอยู่ก็บอกเลยว่าหนังสือเล่มนี้อ่านยากกว่าเล่มแรกเนื่องจากมีรายละเอียดมากขึ้นและเข้าไปอธิบายรายละเอียดเรื่องโรคมากขึ้น แต่ไม่ต้องมึนครับ กลับไปตั้งต้น จำแค่ หวาน นม ถั่วเหลือง เนยเทียม ไมโครเวฟ ไขมันทั้งหลาย จำได้แค่นี้ก็ปลอดภัยไปเยอะแล้ว เล่มนี้อ่านไว้แค่ประดับความรู้ก็พอ โถ ก็บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่า “ไม่ใช่หนังสืออ่านเล่น ก็ไม่เชื่อ” 

เรื่องภาวะไทรอยด์ต่ำ ยังไม่ได้ยกตัวอย่างเลยครับ ลองอ่านๆฟังๆ ดูแล้วเก็บไปพิจารณานะครับ 

รายที่ 1 เป็นผู้หญิงอายุ 52 ปี มีอาการนิ้วโป้งล๊อค งอไม่ได้ ถ้าพยายามไปกดลงจะปวดมาก กินยาก็ดีขึ้น หยุดยาก็เป็นอีก หมอเคยบอกว่าจะฉีดยาให้ แต่ผู้ป่วยกลัวเจ็บ เลยไม่ได้ฉีด ผู้ป่วยเป็นลูกค้าที่เหนียวแน่นกับไอศกรีม ผลไม้ และน้ำเต้าหู้ หลังจากหยุดอาหารดังกล่าวแล้วกินไทรอยด์ฮอร์โมนนานประมาณ 1 เดือน อาการดังกล่าวที่ทรมานมาเป็นปีๆ ก็หายไป และอาการนี้จะกลับมาเยี่ยมเยือนผู้ป่วนรายนี้เป็นครั้งคราวทุกครั้งที่ผู้ป่วยกินอาหารกลุ่มเดิมเยอะๆ อีก ผู้ป่วยก็ต้องหันมาดูแลตัวเองเคร่งครัดอีกรอบนึ่งละครับ หลายท่านยังหลังประเด็นอยู่มากเกี่ยวกับเรื่อง “หายขาด” ในความเห็นส่วนตัวของผม คำว่า “หายขาด” ผมยังไม่เคยพบเลยทั้งจากคนไข้ทั้งหลาย ของผมเองและตัวผมเองลองมาพิจารณาเรื่องต่อไปนี้.. ถ้าคุณยกมือมาเขกหัวตัวเอง แล้วหัวโน วิธีที่จะทำให้หายหัวโนก็คือ “หยุดเขกตัวตัวเอง” คุณจะไปหายาหม่องมาทา กินยาแก้ปวด กินยายุบบวมแก้อักเสบอย่างไร มันอาจช่วยบรรเทาอาการหัวโนได้บ้าง แต่มันก็ไม่หายหัวโนหรอกครับ ตราบใดที่คุณยังไม่หยุดเขกหัวตัวเองอีก หัวคุณก็ต้องโนอีกอย่างแน่นอน สาธุ  พอจะเริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหมครับกับคำว่า “หายขาด” ไอ้คำว่า “หายขาดน่ะมันมี…แต่ “เรื่องหายขาด” น่ะผมเชื่อว่ามันไม่มี” กลับมาเรื่องหัวใจอีก หลังจากคุณหยุดเขกหัวตัวเองได้ 2-3 วันอาการเจ็บก็จะเบาลง ถ้าคุณกลับมาเขกหัวตัวเองอีก ไม่ต้องเขกแรงมาก หรอกครับ มันก็จะกลับมาระบมมากๆอีกเพราะอะไร ก็เพราะมันยังไม่หายสนิท ยังคงบวมๆอยู่บ้างพอคุณมาซ้ำ มันเลยกลับมาบวมอักเสบง่ายมาก แต่ถ้าลองมาดูกันอีกที ถ้าคุณหยุดเขกหัวตัวเองได้ 2-3 เดือนอาการเจ็บหายสนิทแล้วถ้าคุณกลับมาเขกหัวตัวเองอีก คงต้องเขกแรงมากๆ ครับ มันถึงจะกลับมาระบมมากๆอีกเพราะอะไร ก็เพราะมันหายสนิท ไม่บวมแล้ว พอคุณมาซ้ำมันก็เลยกลับมาบวมอักเสบยากกว่ามากผมกำลังพยายามอธิบาย กฏพื้นฐานของความเจ็บป่วยทั่วๆไปครับว่า การกลับมาป่วยเป็นโรคเดิมง่ายๆ กับการกลับมาป่วยเป็นโรคเดิมยากๆ มันต่างกันอย่างไร ถึงจุดนี้หลายคนคงเริ่มได้แนวทางนะครับ เราลองมาดูตัวอย่างอีกซักหน่อยถ้าคุณป่วยเป็นภูมิแพ้ แล้วคุณหยุดกิน “หวานๆ กับ นมๆ” ไปนานประมาณ 1 เดือน อาการเริ่มดีขึ้น แล้วคุณหันกลับมากิน “หวานๆ กับ นมๆ” อีกน่าจะไม่เกิน 2-3 วัน คุณก็จะกลับ มาเป็นภูมิแพ้อีก แต่ถ้าคุณหยุดกิน “หวานๆ กับ นมๆ” ไปนานประมาณ 3 เดือน อาการดีขึ้นมากแล้วแล้วคุณหันกลับมากิน “หวานๆ กับ นมๆ” อีกอาจจะต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ คุณถึงจะกลับมาเป็น ภูมิแพ้อีก สรุปง่ายๆ “หยุดไม่นานก็อาจกลับมาเป็นง่าย แต่ถ้าหยุดนานกว่าก็อาจกลับมาเป็นยากกว่า” และการที่กลับมาเป็นยาก นี่แหล่ะอาจเป็นที่มาของการที่หลายคนคิดว่า “หายขาด” มีใครบ้างครับเป็นหวัดครั้งเดียวในชีวิต แน่นอนอาจมีหลายคนไม่ได้เป็นหวัดมาหลายปีแล้ว ลองโทรมตัวเองมากๆซิครับ เดี๋ยวก็เป็นครับ เมื่อร่างกายอ่อนแอ ถึงจุดที่เหมาะสม เราก็เจ็บป่วยได้ เมื่อร่างกายแข็งแรงถึงจุดที่เหมาะสม เราก็หายเจ็บป่วยได้ คราวนี้แหละครับจะป่วยเป็นโรคอะไร ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่มาร่วมกันทำให้เกิดโรคนั้นโรคนี้ และเช่นเดียวกัน จะหายป่วยจากโรคอะไรก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่จะมาร่วมกันทำให้หายป่วยจากโรคนี้ หวังว่าคงไม่งงนะครับ และย้ำอีกทีร่างกายของเราๆ ท่านๆ ใช้เวลาในการปรับตัวโดยประมาณ 6-9 เดือน กว่าจะกลับมาเป็นปกติตามเดิมได้.. นี่เป็นเรื่องที่ทำให้คนส่วนใหญ่ทนไม่ได้ แต่ทำไงได้ตราบใดที่เราเป็นคน มันก็เป็นแบบนี้แหละครับ เอ้า นอกเรื่องไปไกลมากเลย กำลังคุยเรื่องไทรอยด์อยู่ดีๆ ไถลไปไหนก็ไม่รู้ กลับมาเรื่องไทรอยด์ต่อ 

ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 50 ปี อ้วนเล็กน้อย มาบ่นว่าหนาวง่ายเวลานั่งดูโทรทัศน์กันหลายคน ตนเองรู้สึกหนาวต้องไปหยิงผ้าห่มมาใช้ในขณะที่คนอื่นบอกว่า ไม่เห็นหนาวเลย กำลังเย็นพอดี รายนี้มีประวัติเคยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ไปครั้งหนึ่งเมื่อ 20 ปีก่อน หลังผ่าตัดก็ปกติดีไม่มีปัญหาอะไร เพิ่งมาหนาวง่าย 2-3 ปีนี้เอง (ปกติต่อมไทรอยด์มี 2 ข้าง เมื่อตัดทิ้งไปข้างหนึ่งตอนอายุ 30 ปีต่อมไทรอยด์ข้างที่เหลือก็พอทำงานไหว แต่ผ่านมา 20 ปี ผู้ป่วยอายุ 50 ปี ต่อมไทรอยด์ก็อายุ 50 ปีด้วย มันก็แก่ลงเหมือนเจ้าของมันนั่นแหล่ะ คราวนี้มันทำงานช้าลง เลยเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำ 

ผู้ป่วยรายที่ 3 ทุกอย่างเหมือนรายที่ 2 เป๊ะ แต่ไม่เคยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ แต่รายนี้ชอบกินผลไม้และน้ำผลไม้อย่างมาก ก็มาด้วยปัญหาแบบเดียวกันครับ และทำนองเดียว กันบางรายสาเหตุอาจะเป็นจากการกินเจ หรือมังสวิรัติมายาวนาน โดยใช้โปรตีนถั่วเหลืองเป็นหลักอย่างเดียว ก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้เหมือนกัน 

ผู้ป่วยรายที่ 4 อายุ 60 ปีมาบ่นเรื่องปวดหัวอย่างมาก บางครั้งตื่นนอนกลางดึกเพราะปวดหัว รายนี้ห้ามเล็กน้อย ชักไปชักมาได้ความว่าท้องผูกอย่างมากด้วย ตอนแรกคิดว่ารายนี้เกษียณแล้วอยู่บ้านเฉยๆเลยเครียด คิดไปคิดมา เออ ไทรอยด์ต่ำมันก็ท้องผูกแล้วทำให้ปวดหัวได้เหมือนกันนี่หว่า เลยลองรักษาไทรอยด์ต่ำดู ปรากฏว่าประมาณ 1 เดือน ท้องผูกเบาลงปวดหัวเบาลงแต่ยังไม่หายสนิท เลยบอกให้กินผักเยอะหน่อยน้ำเปล่ามากหน่อย ผ่านไป 2-3 สัปดาหร์ ถ่ายปกติทุกวัน อาการปวดหัวหายเป็นปลิดทิ้งแสดงว่าอาการท้องผูกน่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือ ภาวะไทรอยด์ต่ำร่วมกับกินผักและน้ำน้อยไป อ่านแล้ว เก็บไว้พิจารณาด้วยครับบางทีเวลาเราเล่าเรื่องจริงที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ เราก็ไม่ง้อเชื่อครับ เพราะไม่รู้จะง้อให้เชื่อไปทำอาวุธอะไร

โรคของไทรอยด์ที่พบบ่อยๆ

1. ไทรอยด์เป็นพิษ (ไฮเปอร์ไทรอยด์)
2. ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (น้อยไป..ไฮโปไทรอยด์)
3. ต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม(คอพวกธรรมดา)
4. ก้อนเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์…แบ่งเป็น 2 แบบเป็นเนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกมะเร็ง 

🔴 1. ไทรอยด์เป็นพิษ (ไฮเปอร์ไทรอยด์…ไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป)
เหนื่อยง่าย กินมากแต่น้ำหนักลด ตกใจง่าย หงุดหงิด กระวนกระวาย นอนไม่ค่อยหลับ ใจสั่น,มือสั่น ตะคริว ท้องเสียง่าย ประจำเดือนผิดปกติ ตาโปน ต่อมไทรอยด์ อาจจะโตหรือไม่โตก็ได้
ผู้หญิง : ผู้ชาย = 8:1, อายุ 20-40 ปี โดยส่วนใหญ่

🔴 2. ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (น้อยไป..ไฮโปไทรอยด์)
สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ ทุกคนมีอาการบวมน้ำที่ใบหน้า เป็นมากบวมมาก เป็นน้อยบวมน้อย จนบางทีสังเกตได้ยากมาก ดังนี้ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (น้อยไป…ไฮโปไทรอยด์) จึงเป็นโรคที่หมอส่วนใหญ่มักมองข้ามไป

สาเหตุ : ของการเกิดไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (น้อยไป) ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ไขมันทุกประเภท หวานทุกประเภท โดยเฉพาะผลไม้ นมวัว ออกกำลังกายมากเกินไป (ไม่เจียม) เกิดเป็นภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism)

อาการที่พบบ่อยๆของภาวะนี้คือ ปลายนิ้วมือมีอาการชา หรือเวลาตื่นนอนตอนเช้ากำมือไม่ค่อยได้ มือตึงๆ บางครั้งนิ้วติด (นิ้วล๊อค) ซึ่งอาการแบบนี้ตามโรงพยาบาลทั่วๆไป จะวินิจฉัยว่า – พังผือดรัดข้อมือ (carpal tunnel syndrome) – เจ็บส้นเท้า…ที่เรียกทั่วๆไปว่า “ร้องซ้ำ” อ้วนง่าย กินนิดเดียวก็อ้วน อ่อนเพลียเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome) หนาวง่ายกว่าคนอื่น มือเย็น เท้าเย็น (cold hands and feet)

🔴 3. ต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม (คอพอกธรรมดา)
ไม่น่าเชื่อว่าจะโตขนาดนี้ เกิดจากการขาดแร่ธาตุไอโอดีน…
การรักษา 
การให้ไทรอยด์ฮอร์โมนทาน…อาจช่วยได้บ้างในรายที่เป็นมาไม่นาน… 
แต่ถ้าเป็นมานานๆ ก็ต้องผ่าตัด มีความเสี่ยงมากเหมือนกัน ดูกันเป็นรายๆไปครับ 

ภูมิต้านทานไม่ดี ติดเชื้อบ่อย คนที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำมักมีปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ภูมิต้านทานไม่ดี ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่คนเหล่านี้จะเป็นหวัดบ่อย หลอดลมอักเสบบ่อย เจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยๆ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย 

โรค MS (multiple sclerceis) “thyroid  therapy can cause the MS aymptoma to disappeat in those patients who have no other obvious problems such as heavy metal poisoring” จากหนังสือ “the enzyme cure” ของ  ดรศ ลิต้า ลี ปี 1998 หน้า 250 โรค MS มีสาเหตุได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในนั้นก็คือ “ภาวะไทรอยด์ต่ำ” ดังนั้นเมื่อตัดสาเหตุอื่นๆ ออกไปแล้ว เหลือแต่เรื่องภาวะไทรอยด์ต่ำ การรักษาก็ค่อนข้างง่าย

🔴 4. ก้อนเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์
แบ่งเป็น 2 แบบ เป็นเนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกมะเร็ง ทั้ง 2 อย่างมักจะมาด้วย…มีก้อนขนาด 1-3 ชม. ที่ต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกแบบไหน จะใช้เข็มเล็กๆ เจาะเนื้อเยื่อไปตรวจ