โคคิวเท็น ไม่ได้ให้พลังงาน แต่จำเป็นในการจุดเริ่มปฏิกิริยาเคมีเพื่อสร้างพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานสม่ำเสมอตลอดเวลาไม่ว่ายามตื่นหรือหลับ ประมาณ 95% ของพลังงานในร่างกาย ล้วนเกิดจากบทบาทของโคคิวเท็น ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลวมีภาวะขาดโคคิวเท็นที่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับโคคิวเท็นปริมาณเพียงพอก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างได้ผล ยังใช้ช่วยอธิบายในกรณีหายใจลำบาก หายใจติดขัด ว่าอาจมีภาวะขาดโคคิวเท็นร่วมด้วย

คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ของโคคิวเท็น ทำให้วงการแพทย์นำโคคิวเท็นมาใช้ในการร่วมรักษาโรคต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง ได้แก่ โรคทาลัสซีเมีย และโรคเซลล์สมองเสื่อมต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน เป็นต้น ยังช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ จัดให้โคคิวเท็นเป็น potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกด้วย

เมื่อขาดโคคิวเท็นจะมีผลอย่างไร ?

ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจ หากขาดโคคิวเท็นมากเกินขนาด จะส่งผลให้ปริมาณเซลล์ที่ไม่ทำงานมีมาก เมื่อถึงระดับหนึ่งย่อมไม่บีบตัวทำงาน เซลล์ที่เหลือย่อมปรับตัวโดยบีบให้ถี่ขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่มีแรงสูบฉีดเลือดส่งออกไปเลี้ยงอวัยวะ แต่อาจรู้สึกใจเต้นแรง ก็เพราะหัวใจบีบผิดจังหวะ อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องด้วยเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด อาการอ่อนเพลีย หายใจติดขัดย่อมเกิดขึ้น นอกจากนี้การขาดโคคิวเท็นยังทำให้เกิดริ้วรอย เนื่องจากเซลล์ผิวหนังและกล้ามเนื้อชำรุดทรุดโทรมไป

เราจะสังเกตอาการขาดโคคิวเท็นได้อย่างไร ?

นอกจากอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรงผิดจังหวะแล้ว อาการอื่นที่พบบ่อยในภาวะขาดโคคิวเท็นก็คือ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง วิงเวียนศีรษะ ชีพจรเร็ว หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชาปลายมือ ปลายเท้า

ใครบ้างที่ควรได้รับโคคิวเท็นเพิ่มเติม ?

ภาวะขาดโคคิวเท็น อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ
1. การได้รับปริมาณโคคิวเท็นจากอาหารไม่เพียงพอ
2. ความบกพร่องของกลไกการสร้างโคคิวเท็นในร่างกาย
3. ภาวะที่มีการใช้โคคิวเท็นมากเกินปกติ เช่น การออกกำลังกายมากเกิน ภาวะช็อค หรือมีกระบวนการเผาผลาญพลังงานมากผิดปกติ

สำหรับบุคคลทั่วไป แม้ว่าร่างกายจะสร้างโคคิวเท็นได้เอง แต่ความสามารถนี้จะลดลงเมื่ออายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ปริมาณที่ร่างกายต้องการ กลับไม่ลดลง พบว่า การสังเคราะห์โคคิวเท็นในร่างกายต้องอาศัยวิตามินถึง 7 ตัว และแร่ธาตุอีกหลายรายการ

คุณประโยชน์ของโคคิวเท็นในด้านต่าง ๆ โคคิวเท็นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากวงการแพทย์ว่ามีบทบาทร่วมรักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดในสมอง (stroke) โดยพบว่า เมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ได้รับโคคิวเท็นอย่างต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจที่ทรุดโทรม จะสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติ และทำงานได้ดีขึ้น ภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น อาการใจสั่น เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำเป็นต่อผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุดยั้งกระบวนการสร้างโคคิวเท็น ก่อเกิดภาวะขาดโคคิวเท็นรุนแรง