ขณะนี้ในบางพื้นที่ก็ยังมีฝนตกหนักอยู่ทุกวัน และอากาศก็เริ่มเย็นลงทุกที ซึ่งก็น่าจะก้าวเข้าสู่หน้าหนาวอย่างเต็มตัวในไม่ช้านี้ ซึ่งนอกจากเด็กๆแล้ว ผู้สูงอายุก็ควรจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษในช่วงหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึงนี้เช่นกันสำหรับผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองในเบื้องตนโดยการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ด้วยการสวมใส่เสื้อผ่า ที่มีความหนาเพียงพอ ห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่นโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็น ออกกำลังกายเป็นประจำเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆเพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย รับประทานอาหารร้อนๆ หลากหลายให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน ดื่มน้ำอุ่นวันละ 6-8 แก้วและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอประมาณวันละ 7-9 ชั่วโมง ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องการเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนร่วมกันครอบครัวในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นควรมีการเตรียมความพร้อมของสภาพร่างกาย ยาประจำที่ใช้และยาที่จำเป็นให้พร้อมก่อนออกเดินทาง
ข้อที่ควรคำนึงถึงสำหรับผู้สูงอายุในช่วงหน้าหนาว
🔴 1. โรคระบบทางเดินหายใจ
เช่น ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากการแพร่ระบาดง่ายและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น การป้องกันทำได้โดยการหลีกเลี่ยงฝูงชนที่มีการระบายอากาศไม่ดี เช่น ในโรงภาพยนตร์หรือแหล่งการค้าที่มีคนอยู่หนาแน่น และควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการได้รับเชื้อโรคจากผู้อื่น นอกจากนี้ การงดสูบบุหรี่ก็จะช่วยลดความเสี่ยง และความรุนแรงของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้อีกทางหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วย รวมทั้งไม่ใช่สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย และถ้ามีผู้ป่วยอยู่ในบ้านควรแนะนำให้ปิดปากด้วยผ้าหรือกระดาษเช็ดหน้าเวลาไอหรือจาม หากผู้สูงอายุเริ่มมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาและอุ่นอย่างเพียงพอหลีกเลี่ยง สถานที่ที่มีอากาศเย็น ควรนอนพักผ่อนมากๆ และดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ หากใข้สูงหรือตัวร้อนมาก ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวหรือรับประทานยาลดไข้ ได้แก่ พาราเซตามอล (ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ ยกเว้นแพทย์สั่ง) หากอาการไม่ดีขึ้น มีอาการไอมากขึ้น หรือมีไข้สูงนานเกินกว่า 5 วัน โดยเฉพาะถ้ามีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย หรือหายใจมีเสียงดัง ควรรีบพาไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
🔴 2. ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
ได้แก่ ผิวแห้งผื่นผิวหนังอักเสบและคัน เนื่องจากผู้สูงอายุมีไขมัน ใต้ผิวหนังน้อยและต่อมไขมันทำงานลดลงตามอายุ จึงมีแนวโน้มที่ผิวหนังจะสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย โดยเฉพาะในหน้าหนาวซึ่งอากาศแห้งและมีความชื้นในอากาศน้อย หากอาบน้ำด้วย น้ำอุ่นจัดจะยิ่งชะล้างไขมันที่ผิวหนังออกไปอีก และบางท่านเวลาที่มีอาการคันที่ผิวหนัง จะรักษาอาการคันโดยการอาบน้ำ ซึ่งบางครั้งอาบถึงวันละ 5-6 ครั้ง จะยิ่งทำให้ผิวแห้งและมีอาการคันมากขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางท่านอาจจะจำไม่ได้ว่าได้อาบน้ำไปหรือยัง ทั้งๆที่เพิ่งอาบน้ำเสร็จไปนาน ซึ่งในกรณีนี้ลูกหลานหรือผู้ดูแลจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้อาบน้ำบ่อยเกินไปจนเกิดผิวแห้งได้ แม้กระทั่งสบู่ที่ใช้สำหรับผู้สูงอายุนั้นควรเลือกใช้ชนิดที่ไม่ล้างไขมันออกมากเกินไป และอาจไร้สบู่ฟอกเป็นบางครั้งที่มีการอาบน้ำ หรือฟอกเฉพาะส่วนข้อพับแขนและขาหนีบก็เพียงพอ จากนั้นควรทาโลชั่นหลังอาบน้ำและเช็ดตัวพอหมาดๆทุกครั้ง เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่ายควรใช้โลชั่นประเภทที่ใช้กับผิวเด็กอ่อนได้ และควรทาวันละหลายๆครั้งในกรณีที่มีปัญหาริมฝีปากแตก ไม่ควรเลียริวฝีปาก แนะนำให้ทาด้วยลิปสติกมันบ่อยๆ
🔴 3. อาการกำเริบของโรคในระบบไหลเวียนโลหิต
เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น ผู้สูงอายุจึงควรดูแลรักษาให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ไม่รับประทานอาหารที่เค็ม หวาน หรือมันมากจนเกินไป ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเมื่อรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงขึ้น เช่น บวม รู้สึกเหนื่อยง่าย หรือเจ็บแน่นหน้าอกในขณะที่ออกแรง เป็นต้น
🔴 4. อาการปวดข้อ
โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาปวดข้อเรื้อรังอยู่เดิม อากาศที่หนาวเย็นอาจจะกระตุ้นให้โรคข้อเกิดการอักเสบขึ้นได้ เช่น โรคเก๊าต์ ดังนั้นการรักษาความอบอุ่นให้กับร่างกายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
สารอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับทุกวันควรเป็นอาหารต่อไปนี้
เนื้อสัตว์
ควรได้รับวันละ 150 กรัม เนื้อปลาและเนื้อไก่จะมีความนุ่มมากกว่าเนื้อชนิดอื่น การปรุงเนื้อสัตว์ทุกชนิด ควรปรุงให้นุ่มพอที่จะเคี้ยวได้ด้วย
ไข่
เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เหมาะกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะไข่ขาว ซึ่งมีปริมาณไขมันน้อยกว่า ไข่แดง ให้รับประทานสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง
แคลเซียมและแมกนีเซียม
เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ เพราะมีโปรตีนและแคลเซียมรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการบริโภคไขมันไม่ได้ควรให้แคลเซียมและแมกนีเซียมชนิดปราศจากไขมันทดแทน
ถั่วเมล็ดแห้ง
อาหารชนิดนี้มีโปรตีนสูงสามารถเสริมสร้างร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี ซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอ
ผักและผลไม้
ผู้สูงอายุควรได้รับผักและผลไม้ทุกวัน เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ แล้วยังช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วย ในผู้สูงอายุบางรายอาจพบท้องอืด เมื่อรับประทานผักสด ดังนั้นควรต้มหรือนึ่งให้สุกก่อนผลไม้ควรเป็นผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสนุ่มเคี้ยวง่าย เช่น ข้าวโพด กล้วยสุก แตงโม ส้ม น้ำผลไม้ เป็นต้น
โปรตีนจากธัญพืช
เช่น ข้าวสาลี ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวเมล็ดสั้นควรได้รับ วันละ 3-4 ถ้วยตวง หรือควรเลือกรับประทานอาหารเสริมจากธัญพืชสกัดชนิดต่างๆที่มีทั้งรูปแบบผง และรูปแบบแคปซูล
ไขมันดี
ผู้สูงอายุควรได้รับไขมันในปริมาณเพียงพอไม่มากเกินไปประมาณ วันละ 3 ช้อนโต๊ะ ควรระวังการกินอาหารที่มีไขมันมากๆ เช่น ปาท่องโก๋ อาหารทอด อาหารที่มีกะทิมากๆเพราะอาจจะทำให้ท้องอืดแน่นท้องและยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วยหรือควรเพิ่มสารอาหารจาก น้ำมันงา น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน
ดังนั้นการดำรงชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมคงเป็นการชะลอความเสื่อมเท่านั้น และควรกระทำตั้งแต่วัยเด็กอย่างต่อเนื่องเพื่อคงสภาพของความสมบูรณ์ไว้ ความรู้ทางอาหารโภชนาการ เป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุซึ่งยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันอีกหลายประการได้แก่ กรรมพันธุ์สภาวะทางร่างกาย สิ่งแวดล้อม สภาวะจิตใจ สังคม อื่นๆ อีกมาก จึงควรพิจารณา ถึงปัจจัยต่างๆ ร่วมด้วย จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะพบว่าลูกๆ หลานๆ มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอันเป็นที่รัก ให้ท่านมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งไปกว่านั้นการดูแลเอาใจใส่ของลูกหลาน ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสุขภาพกายที่ดี ส่วนหนึ่งย่อมมาจากสุขภาพจิตที่ดี