หน้าหนาวเป็นช่วงที่มีอากาศเย็นจึงทำให้เกิดโรคและโรคภูมิแพ้ต่างๆตามมามากมาย คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสำหรับหน้าหนาว ตลอดจนวิธีดูแลตนเองที่เหมาะสมในช่วงที่มีอากาศเย็น

อาหารที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นนั้นเป็น อาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับฤดูหนาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีไขมันสะสมน้อย หรือมีความต้านทานต่ออากาศเย็นต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงพักฟื้น เป็นต้น

อาหารที่มีไขมันสูงจะให้พลังงานสูง เพื่อที่จะให้ร่างกายสามารถสร้างความร้อนได้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นอาหารจำพวกทอดทั้งหลายจึงเป็นที่นิยมกันในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น แต่ก็มีข้อควรระวังในเรื่องของการรับประทานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น ขณะเดียวกันในช่วงฤดูหนาวก็มักมีโรคหวัดแพร่ระบาด ดังนั้น อาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อ และช่วยลดความเสี่ยงตลอดจนเพิ่มภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินดี สังกะสี และซิลีเนียม สำหรับอาหารที่มีซีลีเนียมสูงได้แก่ ถั่วเปลือกแข็ง (Nuts) ปลาทะเล หอย ปลาหมึก ส่วนสังกะสีก็สามารถพบได้มาก ในหอยทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยนางรม ผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามินซีที่ดี รวมถึงผักบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ส่วนวิตามินดี นั้นสามารถหาได้จากแสงแดด ที่มีอยู่ตลอดปี ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้ เมื่อได้รับแสงแดด ดังนั้นควรหาเวลาออกไปเดินรับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 15 นาที นอกจากนี้ คุณหมอก็ได้แนะนำอาหารที่มีกลิ่นฉุน ที่สามารถช่วยลดและบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้กำเริบ อันได้แก่ โพรงจมูกบวม หายใจลำบาก เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม ตะไคร้ และพริก เป็นต้น แต่หากอาการภูมิแพ้นั้นเด่นชัดที่บริเวณผิวหนังและมีอาการแห้ง คัน ลอก เป็นสะเก็ด ก็ควรรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ซึ่งจะมีในอาหารประเภทปลาทะเลที่มีไขมันสูง (แชลมอน ทูน่า คอด หรือ จะเป็นปลาทูของไทยก็ใช้ได้เหมือนกัน ถั่วเปลือกแข็ง Nuts) ก็จะช่วยบรรเทาอาการคันลงได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไปอย่างยิ่งในช่วงหน้าหนาวคือ เรื่องของน้ำหนักตัวที่อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะช่วงที่มีอากาศเย็นคนทั่วไปมักไม่ค่อย อยากเล่นกีฬา ประกอบกับการรับประทาน อาหารในปริมาณที่มาก็จะทำให้น้ำหนักตัวควบคุมได้ยาก ดังนั้น การรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แนะนำถึงจำนวนพลังงานที่ในแต่ละวันควรได้รับว่าสำหรับผู้ที่มี

อายุ 15-18 ปี ต้องการพลังงานประมาณ 2,200 กิโลแคลอรี
อายุ 19-24 ปี ต้องการพลังงานประมาณ 2,200 กิโลแคลอรี
อายุ 25-35 ปี ต้องการพลังงานประมาณ 1,800-2,000 กิโลแคลอรี
อายุ 36-50 ปี ต้องการพลังงานประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี
อายุ 51 ปี ขึ้นไป ต้องการพลังงานประมาณ 1,400 กิโลแคลอรี

แต่ทั้งนี้การใช้พลังงานจากกิจกรรมของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป จึงต้องมีการปรับตามความต้องการที่แท้จริง ดังนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงนักโภชนาการอาหารที่มีประสบการณ์นะช่วยในการประเมินความต้องการพลังงานที่เหมาะสมได้ดีที่สุด